วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พบหลุมดำขนาดกลาง บ่งชี้กำเนิดหลุมดำใหญ่ใจกลางกาแลกซี

นักดาราศาสตร์พบหลุมดำขนาดกลาง ซึ่งคาดว่าจะอธิบายกำเนิดของหลุมดำใจกลางกาแลกซีได้ (ภาพประกอบข่าวเอเอฟพี/นาซา)

นักดาราศาสตร์พบหลุมดำขนาดไม่ใหญ่มาก ที่จะช่วยอธิบายได้ว่า หลุมดำซึ่งมีมวลขนาดใหญ่และดูดกลืนทุกอย่างแม้กระทั่งแสงนั้น พัฒนาขึ้นในใจกลางกาแลกซีได้อย่างไร

ตามรายงานของเอเอฟพีเผยว่า นักดาราศาสตร์ได้พบหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 500 เท่า บริเวณขอบกาแลกซี ESO 243-249 ซึ่งตามรายงานของเสปซเดลีระบุว่าหลุมดำดังกล่าวอยู่ห่างจากโลก 290 ล้านปีแสง โดยให้ชื่อว่า หลุมดำ HLX-1 (Hyper-Luminous X-ray source 1) และได้รายงานการค้นพบนี้ในวารสารเนเจอร์ (Nature) วารสารวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ

เมื่อดูตามขนาดหลุมดำที่เพิ่งค้นพบนี้ จัดว่ามีขนาดอยู่ระหว่างตรงกลางหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) ซึ่งหลุมดำอย่างหลังนี้อาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึงพันล้านเท่า

หลุมดำนับเป็นสิ่งที่ทรงพลังที่สุดในจักรวาล วัตถุในอวกาศนี้มีสนามโน้มถ่วงที่เข้มข้นสูง และมีพลังมากจนไม่สิ่งใด แม้กระทั่งแสงเล็ดรอดออกมาได้ และสำหรับหลุมดำมวลดาว (Stellar-mass black hole) คาดว่าเกิดจากการหดเกร็งอย่างรุนแรงของดาวที่มีมวลมาก แต่สำหรับหลุมดำมวลยิ่งยวดซึ่งอยู่ใจกลางกาแลกซีซึ่งรวมถึงกาแลกซีทางช้าง เผือกด้วยนั้น ยังมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนักว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

" ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า หลุมดำมวลยิ่งยวด อาจเกิดจากการรวมกันของหลุมดำที่มีมวลกลางๆ เพื่อจะยืนยันทฤษฎีที่ว่านี้ คุณต้องพิสูจน์การมีอยู่ของหลุมดำระดับกลางๆ ให้ได้เสียก่อน" ฌอง ฟาร์เรลล์ (Sean Farrell) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) ในอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำในการศึกษาครั้งนี้ให้ความเห็นกับทางเอเอฟพี

เนื่องจากหลุมดำไม่ปล่อยแสงออกมา แต่มีรังสีเอกซ์ (X-ray) ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างชัดเจน ทีมวิจัยจึงตรวจพบหลุมดำขนาดกลางได้ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (XMM-Newton) ขององค์กรอวกาศยุโรปเป็นเครื่องมือในการสำรวจ

สำหรับหลุมดำขนาดกลางนี้ ทางสเปซเดลีระบุว่าทีมวิจัยบันทึกภาพได้ตั้งแต่ 23 พ.ย.2547 ก่อนจะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นหลุมดำประเภทใด และหลุมดำนี้มีชื่อว่า HLX-1 (Hyper-Luminous X-ray source 1) ซึ่งปล่อยรังสีเอกซ์จ้าออกมาด้วยความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 260 ล้านเท่า.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


pbs-kids-games
fashion-games-online
fighting-java-games
games-to-play-a-party
super-mario-games
free-online-tv-show-trivia-games
hot-dress-up-games
play-fun-fun-fun-games
who-wrote-the-lovin-of-the-game
driving-games-for-kids

พบระบบดาวชนิดใหม่ บ่งชี้ "หลุมดำ" ถูกเตะออกจากกาแลกซีแรงแค่ไหน

ภาพวาดตามจินตนาการศิลปิน แสดงลักษณะหลุมดำพร้อมเศษซากดาวถูกเตะออกมาจากกาแลกซี (ขวาบน) - ภาพจากไซน์เดลี

นักดาราศาสตร์พบระบบดาวชนิดใหม่ เป็นซากดาวที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่น เป็นหลักฐานบ่งชี้ "หลุมดำ" หลุดออกจากกาแลกซีแรงแค่ไหน ตามมาด้วยการรวมตัวกับหลุมดำของอีกกาแลกซีหนึ่ง เปรียบเปรยเป็นเหมือน "ดีเอ็นเอ" ของซากสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เชื่อภาพของระบบดาวลักษณะนี้เคยผ่านตานักดาราศาสตร์มาบ้าง

"ระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวด" (hypercompact stellar systems) เป็นวัตถุอวกาศชนิดใหม่ ที่กลุ่มนักดาราศาสตร์จากหลายสถาบันได้แก่ เดวิด เมอร์ริตต์ (David Merritt) สถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ (Rochester Institute of Technology) เจอเรมี ชนิตแมน (Jeremy Schnittman) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) สหรัฐอเมริกา และสเตฟานี โคมอสซา (Stefanie Komossa) จากสถาบันมักซ์พลังก์ด้านฟิสิกส์ระหว่างดวงดาว (Max-Planck-Institut for Extraterrestrial Physics) ในเยอรมนี ได้ร่วมกันจำแนกออกมา

ไซน์เดลีรายงานคำชี้แจงของทีมวิจัยที่กล่าวว่า ซากกระจุกดาวเหล่านี้อาจตรวจพบได้ในย่านความยาวคลื่นแสงที่มองเห็นได้ และวัตถุอวกาศชนิดใหม่ อาจเคยตรวจพบมาบ้างแล้ว จากการบันทึกภาพสำรวจอวกาศ ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสารแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัล (Astrophysical Journal) เพื่ออธิบายคุณสมบัติเชิงทฤษฎีของวัตถุอวกาศดังกล่าวนี้

ระบบ ดาวหนาแน่นยิ่งยวดหรือระบบไฮเปอร์คอมแพคสเตลลานี้ เป็นผลจากการที่หลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) ถูกขับออกจากกาแลกซี หลักจากมีการรวมตัวกันของหลุมดำในกาแลกซีอื่น ซึ่งหลุมดำที่หลุดออกมาจากกาแลกซี ราวกับถูกเตะทิ้งออกมานั้น ได้ดึงดวงดาวของกาแลกซีออกมาด้วย โดยดวงดาวที่อยู่ใกล้หลุมดำขนาดใหญ่นั้น จะเคลื่อนที่ตามออกมา และกลายเป็นเครื่องบันทึกความเร็ว เมื่อหลุมดำถูกดึงออกมาอย่างถาวร

การที่หลุมดำหลุดออกมา หลังจากรวมตัวกันระหว่าง 2 หลุมดำในใจกลางกาแลกซีนั้น ทางเนชันนัลจีโอกราฟิกอธิบายว่า เป็นที่ยอมรับว่า ใจกลางกาแลกซีนั้นมีหลุมดำขนาดใหญ่ ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราเป็นพันล้านเท่า และตามแบบจำลองที่มีออกมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน ชี้ให้ว่าเมื่อหลุมดำขนาดใหญ่เริ่มรวมตัวกัน จะเกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่พุ่งออกมา หากคลื่นดังกล่าวรุนแรงพอก็จะขับให้หลุมดำที่รวมตัวกันนั้น กระเด็นออกมานอกกาแลกซี

ศ.เมอร์ริตต์ นักฟิสิกส์จากโรเชสเตอร์ อธิบายว่า เราสามารถวัดความเร็วที่หลุมดำถูกเตะออกมาจากกาแลกซีได้ จากการวัดความเร็วของดวงดาวที่เคลื่อนที่รอบๆ หลุมดำ ซึ่งมีเพียงดาวที่โคจรเร็วกว่าความเร็วที่หลุมดำถูกเตะออกมาเท่านั้นที่ยัง คงอยู่

อีก ทั้งซากดาวเหล่านี้ ยังคงบันทึกข้อมูลของการเตะดังกล่าวไว้ แม้ว่าหลุมดำที่ถูกเตะออกมานั้น จะลดความเร็วลงแล้วก็ตาม ซึ่งวัตถุอวกาศนี้จะเป็นวิธีดีที่สุดในการย้อนเหตุการณ์ที่หลุมดำถูกเตะออก มา เนื่องจากไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ และแม้ว่าหลุมดำจะถูกเตะออก แต่ยังคงมีแรงโน้มถ่วง ซึ่งบ่งชี้ว่าภายในกลุ่มดาวที่ถูกดึงออกมาด้วยนั้นมีหลุมดำอยู่

"การค้นพบวัตถุอวกาศใหม่นี้ เป็นเหมือนการค้นพบดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว" โคมอสซาเสริมความเห็น

ทั้งนี้บริเวณที่ดีที่สุดในการหาระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวดนี้ คือในกระจุกกาแลกซีที่อยู่ใกล้ๆ กับเราอย่าง กระจุกกาแลกซีโคมา (Coma clusters) และกระจุกกาแลกซีเวอร์โก (Virgo clusters) แต่ทีมวิจัยยังคงถกเถียงในเรื่องนี้กันอยู่ ซึ่งบริเวณที่กล่าวมานั้น เต็มไปด้วยกาแลกซีนับพัน และมีการรวมกันของกาแลกซีมายาวนานแล้ว อันเป็นผลให้มีการรวมกันของหลุมดำด้วย

เมอร์ริทต์และทีมเชื่อว่า นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้เห็นระบบดาวนี้มาบ้างแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าคืออะไร และวัตถุที่ได้รับการจำแนกใหม่นี้ ง่ายที่จะถูกเข้าผิดว่าเป็นระบบดาวทั่วๆ ไป ที่เป็นกระจุกดาวทรงกลม

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ระบบดาวหนาแน่นยิ่งยวดนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือความเร็วภายในระบบที่สูงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจวัดได้เฉพาะในระบบดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงรอบๆ หลุมดำเท่านั้น และต้องอาศัยการเปิดหน้ากล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เป็นเวลานานเพื่อบันทึก ลักษณะดังกล่าว.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-online-word-games
atari-games-play-online
online-war-strategy-games
super-mario-free-games
sympatico-games-online-free
free-sims-game-downloads
online-java-games
play-six-degrees-of-separation-game
undress-women-games
on-line-games

ดาวเทียม LRO ของนาซาโชว์ร่องรอยเหยียบดวงจันทร์ ยันไม่ได้โม้

ภาพถ่ายบัซ แอดริน นักบินในภารกิจอพอลโล 11 หน้าโมดูลสำรวจดวงจันทร์ซึ่งบันทึกโดยนีล อาร์มสตรอง (ภาพประกอบทั้งหมดจากนาซา)
"นาซา" ฉลองครบ 40 ปี ส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก เผยภาพถ่ายแสดงหลักฐานร่องรอยสำรวจดวงจันทร์ พื้นที่ลงจอดของยานอพอลโลและเครื่องมือวิทยาสาสตร์ที่ทิ้งไว้ พร้อมรอยเท้ามนุษย์อวกศที่ทิ้งไว้เป็นทางยาว บันทึกโดยยานสำรวจดวงจันทร์ลำล่าสุด "แอลอาร์โอ"

องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซา) ปล่อยภาพล่า สุด ที่บันทึกโดยยานลูนาร์ รีคอนเนสซองซ์ ออร์บิเตอร์ หรือ แอลอาร์โอ (The Lunar Reconnaissance Orbiter: LRO) เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปี ที่ปฏิบัติการสำรวจ โดยมนุษย์ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ครั้งแรก ภายใต้โครงการอพอลโล (Apollo) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ก.ค.นี้

ยานสำรวจดวงจันทร์ ได้บันทึกภาพไว้เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา ตามรายงานของสำนักข่าวเอพีและบีบีซีนิวส์ โดยมีมาร์ก โรบินสัน (Mark Robinson) นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอาริโซนาสเตท (Arizona State University) สหรัฐฯ เป็นผู้ควบคุมกล้องของยานแอลอาร์โอ

ทั้งนี้ ยานแอลอาร์โอซึ่งอยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์และค่อนข้างไกลจากพื้นที่สำรวจ สามารถบันทึกภาพพื้นที่ลงจอดของยานอพอลโลทั้งหมด 5 ใน 6 ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นพื้นที่ของปฏิบัติการอพอลโล 11 และ อพอลโล 14-17 โดยอพอลโล 13 เป็นปฏิบัติการที่ไม่ประสบความสำเร็จในการลงจอดยาน เนื่องจากเกิดระเบิดระหว่างเดินทาง แต่ลูกเรือนำยานกลับสู่โลกได้ ส่วนพื้นที่ลงจอดของอพอลโล 12 ไม่อยู่ในขอบเขตที่ยานแอลอาร์โอจะบันทึกได้ และจะบันทึกต่อในภายหลัง

ภาพที่นาซาเผยออกมานั้น มีทั้งภาพบริเวณลงจอดของยานอพอลโล 11 ซึ่งแสดงให้เห็นโมดูลอีเกิล (Eagle) ที่นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ผู้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรก และบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) ได้ใช้ปฏิบัติภารกิจ

ในภาพจะเห็นโมดูลด้วย ซึ่งมีลักษณะคล้ายก้อนเหลี่ยมๆ สีขาว ตั้งอยู่บริเวณปากหลุมบนดวงจันทร์ ภาพโมดูลของอพอลโล 14-17 โดยในส่วนของอพอลโล 14 นั้น นาซายังได้ขยายภาพให้เห็นถึงร่องรอยของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทิ้งไว้ พร้อมโมดูล และเชื่อมด้วยรอยเท้าของนักบินอวกาศที่ลากเป็นทางยาว

"มันเยี่ยมมากเลย ที่ได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือยังคงอยู่บนผิวดวงจันทร์ รอคอยให้เรากลับไปอีกครั้ง" โรบินสันกล่าว และบอกว่า ปฏิบัติการบันทึกภาพถ่ายดวงจันทร์ของยานแอลอาร์โอครั้งนี้ เป็นก้าวแรกในความพยายามกลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้งของนาซาก่อนปี พ.ศ. 2563

ทั้งนี้ ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ยานแอลอาร์โอจะเริ่มต้นทำแผนที่ดวงจันทร์ต่อไปเพื่อเตรียมการสำหรับพื้นที่ ลงจอดสำรวจดวงจันทร์อีกครั้งในอนาคต

ส่วนคุณภาพของภาพถ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับความสูงของจากพื้นผิวดวงจันทร์ของยานแอลอาร์โอและมุมตกกระทบ ของดวงอาทิตย์ โดบภาพพื้นที่ลงจอดของยานอพอลโล 11 นั้น บันทึกจากระยะสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 110 กิโลเมตร ส่วนภาพพื้นผิวลงจอดของยานอพอลโล 14 นั้น บันทึกที่ระดับความสูงต่ำกว่าลงมาประมาณ 10 กิโลเมตร

อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ของนาซายังบอกด้วยว่า นอกจากยานแอลอาร์โอของนาซาแล้ว ญี่ปุ่นและอินเดียก็มียานสำรวจดวงจันทร์ เพื่อหาร่องรอยของมนุษย์ที่เคยไปเยือนดวงจันทร์เช่นกัน แต่กล้องจากยานสำรวจของประเทศเหล่านั้นไม่คมชัดพอ

สำหรับยานแอลอาร์โอนั้น ถูกส่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานแอลอาร์โอประกอบด้วยกล้อง 3 ตัวคือ กล้องเลนส์กว้างความละเอียดต่ำ 1 ตัวและกล้องเลนส์แคบความละเอียดสูงอีก 2 ตัว โดยกล้องทั้งสามเรียกว่า "ลูนาร์ รีคอนเนสซองซ์ ออร์บิเตอร์ คาเมรา" (Lunar Reconnaissance Orbiter Camera) หรือ "แอลอาร์โอซี" (LROC) และยังประกอบด้วยยานสำรวจดวงจันทร์อีกลำที่ชื่อ แอลซีอาร์โอเอสเอส (Lunar Crater Observation and Sensing Satellite: LCROSS) ซึ่งออกแบบให้พุ่งชนดวงจันทร์เพื่อสำรวจหาน้ำแข็งที่ฝังอยู่ใต้ดิน.

(ซ้าย) ร่องรอยของพื้นที่ลองจอดยานอพอลโล 11 ชี้ให้เห็นโมดูลอีเกิลหน้าปากหลุมแห่งหนึ่ง (ขวา) ภาพถ่ายดาวเทียมชี้ให้เห็นโมดูลฟอลคอน (Falcon) ของยานอพอลโล 15


(ซ้าย) โมดูลโอไรออน (Orion) ของยานอพอลโล 16 (ขวา) โมดูลชาเลนเจอร์ของยานอพอลโล 17


ร่องรอยโมดูลแอนทาเรส (Antares) ของยานอพอลโล 14


สำหรับยานอพอลโล 14 นี้มีรายละเอียดมากกว่ายานในภารกิจอื่น เนื่องจากยานแอลอาร์โอบันทึกได้ในระยะที่ใกล้กว่า โดยภาพนี้แสดงให้เห็นรอยเท้าของมนุษย์อวกาศเป็นทางยาวระหว่างเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ที่ทิ้งไว้ และโมดูลแอนทาเรส

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-downloads-dora-the-explorer-games
free-internet-arcade-games
download-free-java-games-for-mobile
drinking-card-games
free-bible-games-to-download
online-hidden-object-games
download-fighting-games
downloadable-free-pc-games
pacman-games
download-games-for-couples

"ปู่อาร์มสตรอง" เล่าประสบการณ์ "มูนวอล์ก" ครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน

บัซ อัลดริน (ซ้าย) และ นีล อาร์มสตรอง (ขวา) (ภาพเอพี)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นักบินอวกาศในโครงการอพอลโล 12 คน มาร่วมรำลึกเหตุการณ์ก้าวย่างที่มนุษย์เหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก (เอพี)

อัลดรินโปรโมทหนังสือเล่าประสบการณ์เดินทางไปดวงจันทร์ (เอพี)

ฉลองครบรอบ 40 ปีของการลงจอดบนดวงจันทร์ และก้าวย่างแห่ง "มูนวอล์ก" ครั้งแรก เหล่า 12 ผู้เฒ่านักบินอวอากาศแห่งโครงการ "อพอลโล" ล้อมวงเล่าประสบการณ์ รวมทั้ง "นีล อาร์มสตรอง" และ "บัซ อัลดริน" นักบินของยานอพอลโล 11 มนุษย์ชุดแรกที่ย่างเหยียบบนดวงจันทร์มาร่วมวงสนทนาด้วย

การรวมตัวกันของนักบินอวกาศในโครงการอพอลโล (Apollo) เพื่อฉลองครบ 40 ปีที่มนุษย์ได้เหยียบดวงตันทร์ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ก.ค.52 ที่ผ่านมา ณ หอเกียรติยศสถาบันการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (National Aviation Hall of Fame) ของพิพิธภัณฑ์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ (National Museum of the United States Air Force)

ในจำนวนนี้มี "นีล อาร์มสตรอง" (Neil Armstrong) และบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) มนุษย์อวกาศชุดแรก ที่เหยียบดวงจันทร์ ได้เข้าร่วมในงาน พร้อมรับรางวัล "สปิริต ออฟ ไฟล์ท" (Spirit of Flight) เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญ และการอุทิศตนของเขาทั้งสอง

เอพีระบุว่า ภายในงานรำลึกเหตุการณ์ ที่ทั้งสองได้สร้างประวัติศาสตร์ไว้ ซึ่งมีผู้คนหลายร้อยคนอยู่ภายในงาน ได้ฉายภาพวิดิโอที่ถ่ายทอดคำพูดอันโด่งดังของอาร์มสตรองอีกครั้งว่า "ก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ" (One small step for a man, one giant leap for mankind.) ซึ่งเป็นประโยคแรก ที่เขาพูดหลังจากเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2512

"มันน่าตื่นเต้นมาก" อาร์มสตรองมนุษย์อวกาศของยานอพอลโล 11 รำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ซึ่งเขาจ้องเขม็งที่พื้นผิวดวงจันทร์ ขณะที่เหยียบย่างก้าวแรกลงไป และกล่าวต่อว่า เมื่อใดก็ตามที่เราไปที่ไหนสักแห่ง สถานที่ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราเคยเห็น สถานที่แห่งนั้นพิเศษและมีค่าแก่การจดจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาครั้งนั้น แต่เขาและแอดรินมีเวลาเพียงเล็กน้อยที่จะเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ดังกล่าว

"เรามีเวลาไม่ถึง 5 วินาที เมื่อได้รับข้อความจากศูนย์ควบคุมปฏิบัติการ (Mission Control) บอกให้เราเดินหน้าภารกิจต่อไป" อาร์มสตรองกล่าว และบอกว่า เขาเป็นทีมสำรองสำหรับเที่ยวบินอพอลโล 8 แต่เมื่อเขาไม่ต้องทำหน้าที่ในภารกิจดังกล่าว จึงได้รับการทาบทามให้ปฏิบัติภารกิจในอีก 3 ลำดับถัดไป ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จำทำนายว่าภารกิจของเที่ยวบินใดที่จะประสบ ความสำเร็จ

ด้าน ยูจีน เคอร์นัน (Eugene Cernan) มนุษย์คนสุดท้ายที่ได้เดินบนดวงจันทร์ และยังได้บินในเที่ยวบินก่อนหน้าอาร์มสตรอง ได้กล่าวติดตลกว่า ภารกิจของเขาได้ขีดเส้นขาวให้ยานอพอลโล 11 ได้เดินตาม ซึ่งทุกคนทราบดีว่า อาร์มสตองลงจอดบนดวงจันทร์ได้ แต่พวกเขาก็ไม่มั่นใจนักว่าอาร์มสตรองจะหาดวงจันทร์พบหรือเปล่า แต่อาร์มสตรองก็สวนกลับว่า เขาได้ยินคำพูดเช่นนี้มา 40 ปี แต่ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของเขาได้ ซึ่งเรียกเสียงหัวเราะของผู้คนที่เข้าร่วมจำนวนมาก

แม้จะมีเที่ยวบินกรุยทางให้แล้ว แต่การลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อนักบินอวกาศต้องเผชิญสถานการณ์ที่สร้างความตรึงเครียดให้กับทั้งตัวนัก บินเองและศูนย์ควบคุมปฏิบัติการ เมื่อพื้นที่กำหนดให้เป็นจุดลงจอดนั้น มีสภาพเป็นหินมากเกินไป อาร์มสตรองจำต้องเผาพลาญเชื้อเพลิงที่กำลังลดลงเพื่อหาตำแหน่งลงจอดที่เหมาะ สมต่อไป

"ผมพูดไม่ได้ว่ามันน่าตื่นตระหนก อันที่จริงมีการดูแลเรื่องรายละเอียดอย่างมาจากห้องควบคุมปฏิบัติการ ระดับเชื้อเพลิงกำลังลดลง ลดลงเรื่อยๆ และอะไรๆ ก็เริ่มเข้าสู่ภาวะตึงเครียด เมื่อมีเชื้อเพลิงเพียงพอแค่ 30 วินาที ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว อยู่ในภาวะเงียบราวกับหยุดหายใจเลยทีเดียว" ชาร์ลส ดุค (Charles Duke) ผู้ประจำอยู่ในห้องควบคุมครั้งนั้นด้วยกล่าว

ด้านอัลดรินยังคงเก็บปากกาที่ปลายบิดเบี้ยว เขาใช้ปากกาดังกล่าวเป็นสวิตช์ชั่วคราวเพื่อใช้จุดเครื่องยนต์ ซึ่งนำเขาและอาร์มสตรองทะยานขึ้นจากพื้นผิวดวงจันทร์ และมุ่งหน้ากลับสู่โลกอย่างปลอดภัย

อัลดรินบอกว่าปากกาด้ามดังกล่าว และสวิตซ์ที่ว่านั้น เป็นเรื่องน่าจดจำ เป็นสัญลักษณ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และข้อมูลจากนาซาระบุว่าหลังจากอาร์มสตรองและอัลดรินได้สำรวจดวงจันทร์แล้ว พวกเขาได้เดินทางขึ้นไปสมทบกับ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) นักบินอวกาศยานอพอลโล 11 ซึ่งรอคอยอยู่ในวงโคจรดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2512

ทั้งนี้ อัลดรินในวัย 79 ปียังได้เขียนหนังสือถ่ายทอดประสบการณ์เดินทางไปดวงจันทร์ "ความโดดเดี่ยวที่งดงาม - เส้นทางกลับบ้านที่ยาวไกลจากดวงจันทร์" (Magnificent Desolation: The Long Journey Home from the Moon) ซึ่งเขากล่าวภายในงานเปิดตัวหนังสือว่า ความสำเร็จของยานอพอลโลนั้น มีบางสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผน อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนนั้นมีน้ำหนักเกิน แต่พวกเขาได้พิสูจน์ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย และไม่มีผลกระทบต่อการลงจอด

เมื่อ "เดินบนดวงจันทร์" (moonwalk) และนักบินอวกาศกลับเข้าโมดูลแล้ว ก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสวิตซ์ที่จะส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่อง ยนต์ เพื่อนำพวกเข้าขึ้นจากพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งหากไม่สามารถกดสวิตซ์ดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาแน่

ดังนั้นอัลดรินจึงใช้ปากกาของเขาสอดเข้าไปในช่องเล็กๆ ตรงจุดที่ควรมีสวิตซ์เปิดปิด และเมื่อเครื่องยนต์จุดติดแล้ว พวกเขาจึงเดินทางกลับมาได้ เขากล่าวด้วยว่าดวงจันทร์เป็นสถานที่อันโดเดี่ยว แต่ก็ให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ในสัญลักษณ์ที่มนุษย์สามารถไปเยือนได้

"จุดสุดยอดในชีวิตของผม อาจจะเป็นการลงจอดบนดวงจันทร์ร่วมกับนีล และการลงจอดก็สำคัญยิ่งกว่าการเดินไปรอบๆ ข้างนอก ไม่ว่าทุกๆ คนจะคิดอย่างไรก็ตาม การลงจอดได้เปิดโอกาสให้เกิดอะไรก็ได้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" อัลดรินกล่าว.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th




nintendo-wii-game-cheats
undress-girl-games
atari-download-games
free-online-kids-games
play-wrestling-games-online
violent-video-games
free-games-java-mobile
free-online-golf-games
free-online-role-playing-games
family-party-games

เปิดโผ 10 ที่สุดในจักรวาล

หลัง จากรัสเซียประกาศความเป็นเจ้าแห่งอวกาศไปเมื่อ 50 ปีก่อน ด้วยการส่งดาวเทียมดวงแรก “สปุตนิก” (Sputnik) ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2500 แล้วการสำรวจอวกาศในอดีตที่ผ่านมา มีอะไรบ้างที่ถูกบันทึกสถิติไว้ว่าเป็นที่สุดในจักรวาล ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงถือโอกาสนี้นำมารายงานให้ทราบ 10 อย่างด้วยกัน





1. นักบินที่มีชั่วโมงทำการในอวกาศนานที่สุด

“เซอร์เก คริคายอฟ” (Sergei Krikalyov) นักบินอวกาศรัสเซีย วัย 49 ปี เจ้าของสถิตินักบินที่อยู่ในอวกาศนานที่สุด ซึ่งบันทึกไว้เมื่อวันอังคารที่ 16 ส.ค.เวลา 13.02 น.ตามเวลาประเทศไทย ด้วยเวลาในอวกาศรวม 747 วัน 14 ชั่วโมงและ 11 นาที แต่หากรวมทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบัน คริคายอฟ ปฏิบัติภารกิจในอวกาศมาแล้ว 803 วัน 9 ชั่วโมง กับอีก 39 นาที นักบินคนไหนคิดจะทำลายสถิติ เห็นทีจะไม่ง่ายเสียแล้ว





2. นักบินหญิงที่มีชั่วโมงทำการในอวกาศนานที่สุด

แชมป์ฝ่ายหญิงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "สุนิตา วิลเลียมส์" (Sunita Williams) นักบินหญิงเชื้อสายอินเดียของนาซา วัย 42 ปี ที่เหมาตำแหน่งแชมป์ฝ่ายหญิงไปคนเดียวรวด 3 รายการ ภายในปีเดียวกัน (2550) ทั้งนักบินหญิงที่อยู่ในอวกาศนานที่สุด 195 วัน นักบินหญิงที่ออกเดินอวกาศมากครั้งที่สุด รวม 4 ครั้ง และนักบินหญิงที่มีชั่วโมงเดินอวกาศนานที่สุด 29 ชั่วโมง 17 นาที





3. ยานอวกาศที่บินด้วยความเร็วสูงสุด

ยานอวกาศไร้มนุษย์ "นิว โฮไรซอนส์" (New Horizons) ของนาซาที่ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2549 (ตามเวลาประเทศไทย) สามารถเดินทางในอวกาศด้วยความเร็ว 75,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับเป็นความเร็วสูงสุดของยานสำรวจอวกาศเท่าที่เคยมีมา ซึ่งความเร็วในระดับนี้ทำให้การเดินทางสู่ดวงจันทร์ใช้เวลาเพียง 9 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ นิว โฮไรซอนส์ ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 10 ปี กว่าจะถึงจุดหมายที่แท้จริง คือดาวพลูโต และวัตถุอื่นๆ ในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt)





4. ดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุด

หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (IPSTAR) ของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นดาวเทียมสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึง 6,486.48 กิโลกรัม สร้างโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส์ ลอเรล (Space System / Loral - SS/L) ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 จากฐานปล่อยจรวดในประเทศฝรั่งเศส และโคจรอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรที่ระดับความสูง 35,880.7 กิโลเมตร





5. ดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุด

ดาวอีริส (Eris) คือเจ้าของตำแหน่งดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ค้นพบโดยไมเคิล บราวน์ (Michael Brown) จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology : Caltech) สหรัฐฯ ดาวอีรีสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2,400 - 3,000 กิโลเมตร ขณะที่พลูโตที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร และมีมวลมากกว่าพลูโต 27% ซึ่งหลังจากอีริสถูกค้นพบ ดาวพลูโตก็ถูกลดสถานภาพจากดาวเคราะห์เป็นแค่ดาวเคราะห์แคระไปอย่างน่า เสียดาย





6. ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ใหญ่ที่สุด

ดาวเคราะห์ทีอาร์อีเอส-4 (TrES-4) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ อยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) ห่างจากโลกราว 1,400 ปีแสง ซึ่งนักดาราศาสตร์ของหอดูดาวโลเวล (Lowell Observatory) รัฐอริโซนา สหรัฐฯ สามารถจับภาพดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ครั้งแรกในปี 2549 ลักษณะเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าถึง 1.7 เท่า หรือใหญ่กว่าโลกถึง 20 เท่า และมีความหนาแน่นเพียง 0.24 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งทางทฤษฎีแล้วสามารถลอยน้ำได้





7. ดาวเคราะห์ที่โคจรใกล้ดาวแม่มากที่สุด

ปี 2545 นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ "โอจีแอลอี-ทีอาร์-56บี" (OGLE-TR-56b) ที่อยู่ห่างออกไปราว 5,000 ปีแสง จากการโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์โอจีแอลอี-ทีอาร์-56 (OGLE-TR-56 ) ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) ทั้งยังมีวงโคจรห่างจากดาวแม่น้อยที่สุดเท่าที่เคยพบ เพียงแค่ 0.02 หน่วยดาราศาสตร์เท่านั้น (1 หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับ ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร) หรือโคจรครบ 1 รอบในเวลาแค่ 29 วัน





8. ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด

ดาว "พร็อกซิมา เซนทอรี" (Proxima Centauri) ดาวแคระสีแดง (red dwarf star) เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 4.2 ปีแสง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ใน 7 ของดวงอาทิตย์ นับว่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดนอกจากดวงอาทิตย์





9. ดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุด

ดาว PC0832/676 เป็นดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุดที่เราสามารถ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa major) หรือกลุ่มดาวจระเข้นั่นเอง โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60,000 ปีแสง





10. กาแล็กซีที่ไกลที่สุด

ทีมนักดาราศาสตร์ของหอดูดาวยุโรปใต้ (European Southern Observatory: ESO) ในประเทศชิลี สำรวจพบกาแล็กซี เอเบลล์ 1835 ไออาร์1916 (Abell 1835 IR1916) ได้เมื่อปี 2547 อยู่ห่างออกไปถึง 13,200 ล้านปีแสง เป็นกาแล็กซีที่อยู่ไกลจากกาแล็กซีทางช้างเผือกมากที่สุดเท่าที่เคยสังเกต ได้ อยู่หลังกระจุกกาแล็กซี เอเบลล์ 1835 (Abell 1835) ในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่ากาแล็กซีเอเบลล์ 1835 ไออาร์ 1916 นี้ เกิดขึ้นหลังกำเนิดของจักรวาลเพียง 460 ล้านปีเท่านั้น

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

killing-games
fun-drinking-games
free-driving-simulation-games
free-java-games-on-my-mobile-phone
free-internet-war-games
free-online-shooting-games
play-fight-game-now
truck-driving-games
free-online-simulation-games
play-a-racing-game